แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

เลี้ยงแมงดา สร้างรายได้เดือนละแสน – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

สวัสดีสมาชิกแฟนแพจแนวทางเกษตรเกร็ดความรู้ทุกๆท่านครับ วันนี้ทางเรามีบทความดีๆมานำเสนอทุกๆท่าน เกี่ยวกับอาชีพเลี้ยงแมงดา แต่สามารถทำเงินได้ถึงหลักแสนต่อเดือน แค่ฟังก็น่าสนใจกันแล้วใช่ไหมครับ รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปชมกันเลยครับ

เป็นเรื่องราวของฟาร์มสุพัตรา ฟาร์มวังหิน ที่เริ่มต้นจากการซื้อแมงดานามาเลี้ยง จำนวน 200 ตัว ช่วงแรกของการเลี้ยง ตายบ่อยมาก เนื่องจากแมงดาที่ซื้อเป็นแมงดาแก่แล้ว การเลี้ยงก็จะยาก ปัจจุบันที่ฟาร์มเลี้ยงเป็นสายพันธุ์หม้อ เป็นสายพันธุ์อาศัยอยู่ตามท้องนา มีลำตัวเรียวเล็ก มีกลิ่นที่ฉุนมากที่สุดและไข่เยอะพวงยาว สามารถปรับสภาพได้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อม

การทำบ่อ

ฟาร์มจะทำหลังคาและคลุมด้วยมุ้งทั่วทั้งบ่อ จะต้องมีส่วนที่มีแสงแดดส่องถึงด้วย ไม่แนะนำให้ใส่ผักตบชวาเยอะมากเกินไป เพราะจะส่งผลให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย ควรจะปลูกต้นกกในกระถางด้วยดินจาวปลวก เพื่อทำที่หลบซ่อนหรือวางไข่ให้กับแมงดา จาวปลวกจะช่วยย่อยสลายเศษอาหารที่กินเหลือของแมงดาได้อีกด้วย

การใช้หญ้ามุงหลังคา ช่วยในเรื่องของการปีนขึ้นไปของแมงดาตัวที่สมบูรณ์ ซึ่งแมงดาที่สมบูรณ์นั้นจะไม่ค่อยชอบอยู่ในน้ำเท่าไหร่ ก็จะปีนไปตามวัสดุที่เราจัดเตรียมไว้นั่นเอง

การรองพื้นของบ่อจะใช้ผ้าพลาสติกลายหมากฮอต บ่อจะทำเป็น 2 ระดับ เพื่อให้แมงดาปรับตัวในสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละฤดู ความลึกรวมทั้งหมด 50 ซม. แบ่งเป็นระดับแรก 20 ซม. ระดับที่สอง 20 ซม. ขนาดของบ่ออยู่ที่กว้าง 4 เมตร x สูง 2 เมตร

ในฤดูแล้งจะทำการย้ายต้นกกขึ้นมาไว้ตะพักที่ 2 แล้วเปิดน้ำให้เต็มบ่อจนล้นออก เป็นการเปลี่ยนถ่ายน้ำไปในตัว แนะนำให้ติดสปริงเกอร์เพื่อช่วยลดอุณหภูมิไม่ให้ร้อนจนเกินไปในช่วงหน้าแล้ง

น้ำที่นำมาใช้นั้นจะเป็นน้ำบาดาล แต่น้ำบาลต้องทำการออกซิไดร์โดยใช้สปริงเกอร์ปล่อยลงมาผ่านอากาศเพื่อเติมออกซิเจนให้กับน้ำหรือเปิดออกซิเจนลงในน้ำก็ได้ แมงดาถึงจะกล้าลงน้ำครับ

การให้อาหาร

การให้อาหารจะให้เป็นปลาขนาดเล็ก จำพวกลูกอ๊อด กุ้งฝอย เป็นต้น ให้ประมาณ 10 วันต่อครั้ง หากอยู่ในช่วงขาดแคลนอาหารให้นำโครงไก่วางไว้ขอบบ่อตอนเวลา 6 โมงเย็น จากนั้นเก็บออกในตอนเช้า และเปิดสปริงเกอร์เพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย

การวางไข่

แมงดาที่พร้อมจะวางไข่ ให้สังเกตตรงหัวและก้นที่ชูขึ้น ท้องจะเขียว ห้ามส่งให้ลูกค้าเด็ดขาด  เพราะจะไข่ในกล่องหรือจะคัดไข่เครียดและตายได้ แต่ถ้าท้องอ่อนสามารถส่งได้ปกติ

แมงดาจะวางไข่ 1 ครั้ง ในรอบ 3-4 เดือน ให้เปิดสปริงเกอร์ทุกวันหลัง 6 โมงเย็น สัก2-5 ชั่วโมง เนื่องจากแมงดาจะชอบอยู่ในอุณหภูมิที่ 24-30 องศาเซลเซียส

การวางไข่ หากเลี้ยงในบ่อที่กว้าง ไม่จำเป็นต้องเก็บไข่ออกไปฟักข้างนอก แต่ถ้านำไปฝักข้างนอกก็จะง่ายกว่า ประมาณ 7-10 วันก็จะทำการฟักตัวออกมา ให้อาหารเป็นลูกอ๊อดหรือปลาหางนกยูง จะมีการลอกคราบประมาณ 5 รอบ ถึงจะแข็งแรง สังเกตว่าแมงดาจะเริ่มมีปีก ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ก็ปล่อยเลี้ยงรวมได้เลยครับ การจัดสรรพื้นที่ในบ่อ ควรจะมีพืชต่างๆให้หนาแน่น ไว้เป็นที่หลบให้แมงดา

สาเหตุการตาย

-มีการกินกันเอง
-ค่า pH ในน้ำเปลี่ยนแปลงกะทันหัน
-น็อคน้ำ
-อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน

แนวทางแก้ปัญหา

จะต้องมีการจัดการระบบในบ่อให้ดี จัดสรรพื้นที่หลบซ่อนให้เพียงพอ ให้อาหารอย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญคือต่อคอยตรวจสอบเรื่องของความเป็นกรดด่างของน้ำให้ดี หากเป็นบ่อระบบเปิด ให้แก้ด้วยวิธีใช้ปูนปลาสเตอร์ ปั้นแล้วนำไปวางไว้กลางบ่อ จะช่วยปรับค่า pH จากดรกให้เป็นด่าง

ตลาดแมงดา

รูปแบบการตลาด สามารถขายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การขายไม่ว่าจะขายพ่อแม่พันธุ์ อีกทั้งยังนำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าก็ทำได้หลายรูปแบบ เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างไม่ขาดสาย อยากจะให้เน้นไปเรื่องของการเลี้ยงให้โตก็พอครับ

เขียนโดย แนวทางเกษตร เกร็ดความรู้

Exit mobile version