ทำจุลินทรีย์น้ำซาวข้าว บำรุงพืชผัก เร่งการเจริญเติบโต – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

ยินดีต้อนรับสมาชิกแฟนเพจแนวทางเกษตร เกร็ดความรู้ทุกๆท่านกันด้วยนะครับ พบกันอีกแล้ว แน่นอนว่าเรามีสาระความรู้มาฝากทุกท่านกันอย่างแน่นอน พูดถึงเรื่องจุลินทรีย์น้ำซาวข้าวแล้ว เกษตรกรผู้ทำสวนทุกท่านควรจะต้องมีติดสวนไว้อย่างแน่นอน เพราะเป็นน้ำหมักชีวภาพบำรุงพืชผักที่สามารถทำเองได้ง่ายและประหยัดงบประมาณอีกด้วยครับ

วันนี้เราจึงจะพาทุกท่านไปทำจุลินทรีย์น้ำซาวข้าวกันครับ เป็นการนำวัสดุเหลือใช้จากในครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยจุลินทรีย์น้ำซาวข้าวช่วยบำรุงให้พืชเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี เพิ่มสารอาหารให้กับพืช ทำให้พืชขยายเซลล์ได้ดี ส่งผลให้พืชผักของเรามีสีสดน่ารับประทาน เราไปดูขั้นตอนและรายละเอียดกันเลยครับ

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

1.น้ำซาวข้าว หรือน้ำที่เราใช้แช่ข้าวมาแล้ว 1 คืน

2.กากน้ำตาล

3.ช้อน

ขั้นตอนการทำ

1.กรอกน้ำซาวข้าวลงไปในขวดพลาสติกขนาด 1.5 ลิตร

2.เติมกากน้ำตาลลงไปในขวดน้ำซาวข้าว ประมาณ 3 ช้อนโต้ะ

3.ปิดฝา เขย่าขวดให้กากน้ำตาลละลาย

การเก็บรักษา

หลังจากเขย่าจนกากน้ำตาลละลายดีแล้ว ให้คลายฝาขวดเล็กน้อย เพราะว่าระหว่างการหมักนั้น อาจจะมีแก๊สเกิดขึ้นได้ หากไม่คลายฝา อาจจะส่งผลให้ขวดระเบิดได้ ใกระบวนการหมัก ควรจะเขย่าขวดในทุกๆวัน เพื่อให้เกิดกระจายตัวให้ทั่ว ใช้ระยะเวลาในการหมักประมาณ 7 วัน โดยให้ตั้งขวดไว้ในที่ร่มครับ

การนำไปใช้งาน

การนำไปใช้งานสามารถทำได้ 2 รูปแบบ โดยจะนำไปผสมกับน้ำแล้วรดพืชผักหรือฉีดพ่นก็ได้เช่นกัน อัตราส่วน จุลินทรีย์น้ำซาวข้าว 1 ช้อน : น้ำ 10 ลิตร สามารถใช้กับพืชผักได้ทุกชนิด ใช้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง รดในช่วงเวลาสายๆครับ

ก็ถือเป็นอันเสร็จแล้วครับ เป็นเช่นไรกันบ้างครับ ง่ายมากเลยใช่ไหมครับ วัสดุแต่ละอย่างหาได้ไม่ยาก ทำได้ง่าย ทำเก็บไว้ใช้รดพืชผักสวนครัว ไม้ดอก ไม้ประดับ ได้ทุกชนิด หากท่านไหนที่ปลูกพืชอยู่ กำลังมองหาน้ำหมักชีวภาพ สูตรนี้ผมแนะนำครับ ลองดูกันนะครับ เผื่อเป็นประโยชน์ หากท่านไหนอ่านบทความแล้วไม่เข้าใจ สามารถรับชมวิดีโอเพิ่มเติมที่เราได้แนบมาด้านล่างนี้ได้ครับ ซึ่งทีมงานของเราได้ถ่ายทำขั้นตอนการทำอย่างละเอียดไว้ในคลิปครับ

เขียนโดย แนวทางเกษตร เกร็ดความรู้

ชมคลิปเพิ่มเติม

Visited 40 times, 1 visit(s) today

เรื่องราวเพิ่มเติม

ปลูกผักพายน้อยจากเมล็ด สร้างงานทำเงินให้เกษตรกร – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

ทักทายสมาชิกผู้ …

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *