เรียนรู้ผ่านการเล่น: บทบาทของเกมิฟิเคชันในการศึกษา | เข้าใจวิธีการทำ SEO ได้

ปัจจุบันนี้ การเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นในห้องเรียนเท่านั้น เพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านสิ่งอื่นซึ่งนั่นก็คือการเล่นเกมหรือเกมิฟิเคชัน — คำ ๆ นี้แท้จริงแล้วคืออะไร การเรียนรู้ผ่านการเล่นเกมช่วยกระตุ้นทักษะอะไรบ้าง และมีเกมอะไรบ้างที่เราสามารถเล่นเพื่อเรียนรู้? มาดูกัน!

เกมิฟิเคชัน

เกมิฟิเคชัน (Gamification) คือการนำแนวคิดและกลไกของเกมมากระตุ้นการอยากเรียนรู้ของผู้เล่น โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นเกมที่ฝึกทักษะ เกมที่มีเนื้อเรื่อง และเกมตอบคำถาม วิธีการเข้าถึงเกมิฟิเคชันนั้นมีหลายทาง เช่น ออนไลน์ Verde Casino และสื่อพิมพ์ต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันนี้มีโรงเรียนหลายแห่งได้นำเกมิฟิเคชันเข้าสู่ห้องเรียนเพื่อกระตุ้นและจูงใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้มากขึ้น เช่น การเล่นเกมควิซ การวาดภาพ และเกมเติมคำ

5 องค์ประกอบของเกมิฟิเคชัน

ในการนำการเล่นเกมมากระตุ้นและเสริมสร้างการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดควรประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบ ดังนี้

  • เป้าหมาย

เป้าหมายจะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเล่นเกมต่อไปเพื่อก้าวไปข้างหน้า อยากเอาชนะ และรอดูผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ ผู้สอนควรกำหนดจากเป้าหมายเล็ก ๆ ไปยังเป้าหมายขนาดใหญ่เพื่อไม่ให้เกิดความยากมากเกินไปแก่ผู้เรียน

  • กฎ

กฎจะเป็นสิ่งที่กำหนดให้ผู้เรียนต้องปฏิบัติตาม ซึ่งหมายถึงวิธีการเล่น กติกา และข้อห้ามต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยขัดเกลาให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่อยู่ในวินัยและเคารพกฎ

  • การแข่งขันและความร่วมมือ

เกมควรจะเล่นหลาย ๆ คนเพื่อสร้างการแข่งขัน ทำให้ผู้เรียนอยากเอาชนะคนอื่น ๆ หรืออาจจะเป็นเกมที่ต้องเล่นเป็นทีมร่วมด้วยเพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นกลุ่มและการเข้าสังคม

  • เวลา

เวลาเป็นสิ่งสำคัญต่อเกมิฟิเคชันอย่างมาก เพราะจะทำให้ผู้เล่นรู้สึกกดดันซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้ผู้เรียนต้องปฏิบัติภารกิจในเกมให้สำเร็จลุล่วงก่อนหมดเวลา

  • รางวัล

รางวัลจะเป็นตัวกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากก้าวหน้าต่อไปและสะสมคะแนนให้ได้มากที่สุดเพื่อเป็นผู้ชนะและคว้ารางวัล 

การเรียนรู้ผ่านการเล่นเกมช่วยกระตุ้นทักษะอะไรบ้าง

การนำเกมเข้าไปบูรณาการกับการเรียนได้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างมาก และได้ช่วยเสริมสร้างและพัฒนาทักษะมากมาย ต่อนี้คือส่วนหนึ่ง

  • ทักษะการคิด

เกมิฟิเคชันจะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ เช่น เกมควิซที่ผู้เล่นจะต้องคิดว่าคำตอบที่ถูกต้องคืออะไร รวมไปถึงการวิเคราะห์ถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขโจทย์

  • ทักษะด้านภาษา

เกมิฟิเคชันหลายเกมช่วยกระตุ้นทักษะทางด้านภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาญี่ปุ่น โดยผู้เล่นจะเรียนรู้และจดจำคำศัพท์ต่าง ๆ ผ่านเกม

  • ทักษะการวางแผน

เกมิฟิเคชันจะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการวางแผนต่าง ๆ ว่าควรทำอย่างไรจึงจะชนะจนจบเกมและวิธีการป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างการเล่นเกม

  • ทักษะการใช้เทคโนโลยี

การเล่นเกมออนไลน์จะช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เครื่องมือต่าง ๆ บนคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนประถมที่เพิ่งเริ่มต้นเรียนรู้การใช้อุปกรณ์

  • ทักษะการทำงานเป็นทีม

เกมิฟิเคชันหลายเกมเป็นเกมที่เล่นเป็นทีม สิ่งนี้จะช่วยเสริมสร้างทักษะการเข้าสังคมและการทำงานเป็นทีมให้แก่ผู้เรียนเป็นอย่างมาก

แนะนำเกมน่าเล่นเพื่อการเรียนรู้

มีเกมออนไลน์สนุก ๆ หลายเกมที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้และเราได้คัดเลือกเกมน่าเล่นมา 3 เกม ซึ่งเป็นเกมที่สามารถเล่นได้ฟรีและแบบสมัครสมาชิก

  • Kahoot!

Kahoot เป็นเกมควิซที่เปิดให้เล่นได้ฟรี ได้รับการออกแบบมาให้สามารถเล่นในห้องเรียนและนอกห้องเรียนผ่านเว็บไซต์ ผู้เล่นจะได้สนุกไปกับการคิดและตอบคำถามต่าง ๆ ที่มาในภาษาอังกฤษ ช่วยเสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษ การคิด และการทำงานเป็นทีม

  • 99Math

99Math เป็นเกมคณิตคิดเลขเร็วที่เปิดให้เล่นได้ฟรี ความยากของเกมจะเหมาะสำหรับผู้เรียนในช่วงประถมศึกษาปีที่ 1-6 โจทย์มีหลากหลายรูปแบบ เช่น คำนวณทศนิยม ค่าตัวแปร X Y และคำนวณพื้นที่เลขาคณิต สามารถเล่นแบบเดี่ยวและแบบทีมได้

  • QuizWhizzer

QuizWhizzer เป็นเกมควิซที่คเปิดให้เล่นได้ฟรี เป็นเกมที่คล้ายคลึงกับ Kahoot แต่แตกต่างตรงที่เกมนี้เป็นเกมเล่นแบบเดี่ยวและผู้เล่นจะต้องแข่งตอบคำถามให้เร็วและถูกมากที่สุดเพื่อให้ตัวละครของตนเองวิ่งเข้าเส้นชัยได้ก่อน

การเล่นเกมเป็นอีกหนึ่งวิธีการในการเรียนรู้ที่น่าสนใจเป็นอย่างมากและใช้ได้ผล เพราะผู้เรียนจะได้สนุกไปกับการเล่นเกมและได้รับแรงกระตุ้นให้เกิดการอยากเอาชนะ ซึ่งระหว่างที่ผู้เล่นกำลังเล่นเกม ผู้เล่นจะได้เรียนรู้ทักษะด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา และการทำงานเป็นทีม

 

Visited 38 times, 1 visit(s) today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *