ทฤษฎี โคก ห น อ ง นา โมเดล ศาสตร์พระราชา คือเกษตรยั่งยืนที่แท้จริง – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

จากศาสตร์พระราชา สู่ โคก หนอง นา โมเดล
โคก หนอง นา เป็น โมเดลต้นแบบที่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติน้อมนำพระราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ด้านการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการน้ำและพื้นที่การเกษตร ผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้านได้อย่ างสอดคล้องกันโดยแบ่งพื้นที่ เป็นสัดส่วน 30:30:30:10 ดังนี้

1.พื้นที่ 30% สำหรับแหล่งน้ำ โดยการขุดบ่อทำห น อ งและคลองไ ส้ไก่

2.พื้นที่ 30% สำหรับทำนาปลูกข้าว

3.พื้นที่ 30% สำหรับทำโคกหรือป่า ปลูกป่า 3 อย่ าง ประโยชน์ 4 อย่ าง ก็คือปลูกไม้ใช้สอย ไม้กินได้และไม้เศรษฐกิจ เพื่อให้ได้ประโยชน์ คือ

3.1 มีกิน คือมีผัก มีอาหารไว้กิน

3.2 มีอยู่ คือสามารถตัดไม้ไปสร้างบ้าน ทำที่อยู่ได้

3.3 มีใช้คือ มีไว้ใช้ส อยในครัวเรือน ใช้เป็น ย า และส มุ น ไ พ ร ใช้เป็นฟืน เป็นเครื่องมือใช้ส อยในบ้าน มีความสมบูรณ์ และ ควา มร่มเย็น

4. พื้นที่ 10% สำหรับที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสั ต ว์ เช่น ไก่ ปลา วัว แ ละควาย เป็นต้น

การออกแบบพื้นที่ด้วยภูมิสังคม

ภาวะภูมิสังคม ถือเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญของการออกแบบพื้นที่ ภูมิ คือ สภาพทางกายภาพ เช่น สภาพดิน นํ้า ลม สังคม คือวัฒนธรรม ความเชื่อ ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่นั้น ซึ่งในการออกแบบจะให้ความสำคัญกับสังคมมากกว่า ภูมิ คือต้องออกแบบตามสังคมและวัฒนธรรมของคนที่อยู่ แม้ว่าภูมิประเทศจะเหมือนกันก็ตาม หากสังคมต่างกันการออกแบบก็จะต่างกันโดยสิ้นเชิง

การกักเก็บน้ำด้วยโคก ห น อ ง นา โมเดล

นํ้าฝนอาจไร้ค่าและอาจสร้างปัญหาในย ามที่มีมากเกินไป แต่หากฝนทิ้งช่วง นํ้าเพียงน้อยนิดก็มีคุณค่ามหาศาล ความไม่สมดุลนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการเก็บนํ้าในตอนนี้จะเล่าถึงวิธีการกั กเก็บน้ำไว้ในพื้นที่ ซึ่งมี 3 วิธี คือ

1.เก็บน้ำไว้ในห น อ งการขุดหนองจะต้องขุดให้คดโค้งและมีระดับตื้นลึกแตกต่างกันไปในแต่ละจุด ก่อนขุดต้องมีการคำนวณปริมาตรนํ้าที่สามารถเก็บได้ในห น อ งเพื่อให้พอใช้งาน

2.เก็บน้ำไว้บนโคกทำได้โดยการปลูกป่าและเก็บในระบบรากของต้นไม้ที่ปลูกไว้ 5 ระดับ ได้แก่ ไม้ระดับสูง ไม้ชั้นกลาง ไม้ชั้นเตี้ย ไม้เรี่ยดินและไม้หัวใต้ดิน ไม้แต่ละระดับควรจะมีอ ย่ า งน้อยไม่น้อยกว่า 21 ชนิด เพื่อสร้างความหลากหลายของระบบราก เมื่อฝนตกลงมาระบบรากจะช่วยอุ้มน้ำไว้ในดิน

3.เก็บไว้ในนายกคันนาให้สูงและกว้าง สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วง นอกจากนี้เรายังสามารถปลูกพืชผักไว้บนคันนาได้อีกด้วย

ที่มา https://วิถีชีวิตเกษตรพอเพียง.com/?p=2757

Visited 6 times, 1 visit(s) today

เรื่องราวเพิ่มเติม

ปลูกผักพายน้อยจากเมล็ด สร้างงานทำเงินให้เกษตรกร – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

ทักทายสมาชิกผู้ …

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *