เลี้ยงปลาหมอในบ่อดิน – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

สวัสดีและขอต้อนรับเพื่อนๆผู้ทำเกษตรทั้งหลาย เข้าสู่เพจแนวทางเกษตร เกร็ดความรู้ ศูนย์รวมเกร็ดความรู้ทั่วทุกมุมด้านของการทำเกษตร เราได้คัดสรรเนื้อหาและใจความสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อแฟนเพจของเราในการนำไปใช้ได้จริง และเนื้อหาสาระในวันนี้ เป็นเทคนิคการเลี้ยงปลาหมอจากผู้เลี้ยงปลาหมอโดยตรง ไปดูรายละเอียดกันเลยครับ

ปลาหมอหรือที่เรียกอีกชื่อว่าปลาเข็ง ถือเป็นปลาที่มีเนื้อที่อร่อย รสชาติดี มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ก้างน้อย หากไม่ใช่ฤดูกาลของปลาหมอ ในบางพื้นที่อาจจะหาซื้อทานได้ยาก เนื่องด้วยเศรษฐกิจตอนนี้ การปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ไว้ทานเอง ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ วันนี้เราจึงจะพาทุกๆท่านไปชมวิธีการเลี้ยงปลาหมอกันครับ

ขนาดของบ่อ

การเลี้ยงของทางฟาร์ม เป็นการเลี้ยงแบบบ่อดิน ขนาดบ่ออยู่ที่ 5×7 เมตร ความลึก 1.5 เมตร

วิธีการเลี้ยง

1.เตรียมน้ำ โดยวัดค่า pH ของน้ำ ค่าที่เหมาะสมอยู่ที่ 6.5-8 เป็นค่า pH ที่สัตว์น้ำสามารถอยู่ได้

2.นำลูกพันธุ์ปลาหมอมาทำการอนุบาลโดยปล่อยลงในกระชัง เมื่อลูกปลาสามารถที่จะเอาตัวรอดได้ด้วยตัวเองแล้วหรือมีขนาดประมาณเท่าหัวแม่มือ จึงจะปล่อยออกจากระชังลงบ่อดิน

3.ดูแลเรื่องน้ำไม่ให้เน่าเสีย ส่วนปัญหาอื่นๆเรียกได้ว่าแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ครับ

4.เลือกใช้เป็นอาหารปลาดุก โดยในช่วงแรกให้เป็นอาหารปลาดุกเม็ดเล็ก โปรตีน 35%

5.การใช้อาหารปลาดุก อาจจะทำให้น้ำเกิดเป็นสีเขียว สามารถแก้ไขได้โดยใช้ em ball (อีเอ็ม บอล) เพื่อย่อยสลายจุลินทรีย์

6.มีการให้อาหารเสริม พืชน้ำ เป็นจำพวกแหนแดง ผักบุ้ง และยังเป็นร่มเงาให้กับปลาได้ด้วย

ในการเลี้ยงปลาหมอ การเก็บปลาขึ้นมาเพื่อทานหรือจำหน่าย ขนาดตัว 5-6 ตัว/โล โดยใช้ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 5 เดือน ปลาหมอเป็นปลาที่ทนต่อสภาพแวดล้อมมาก เลี้ยงไม่เปลืองอาหาร ปลาหมอสามารถอยู่ได้โดยธรรมชาติ โดยไม่ต้องดูแลอะไรมาก สำหรับท่านไหนที่ชื่นชอบการทานปลาหมอ ลองเลี้ยงดูนะครับ ปัจจุบันยังเป็นที่นิยมทานอีกด้วย นำไปประกอบอาหารได้หลากหลายรูปแบบ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ น่าสนใจมากครับ หวังว่าบทความนี้จะเป็นแนวทางหรือทางเลือกให้กับผู้อ่านที่กำลังสนใจอยากเลี้ยงปลาหมอ ขอบคุณที่ติดตามครับ

เขียนโดย แนวทางเกษตร เกร็ดความรู้

ชมวิดีโอเพิ่มเติม

Visited 46 times, 1 visit(s) today

เรื่องราวเพิ่มเติม

ปลูกผักพายน้อยจากเมล็ด สร้างงานทำเงินให้เกษตรกร – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

ทักทายสมาชิกผู้ …

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *