การทําจุลินทรีย์ สังเคราะห์แสง – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

ยินดีต้อนรับสมาชิกทุกท่านเข้าสู่ me-panya เว็บไซต์ที่เป็นศูนย์รวมเรื่องราวการเกษตร โดยแต่ละบทความทางเราได้เลือกและคัดสรรมาเป็นอย่างดี วันนี้จะพาไปชมวิธีการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง การหมักจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เป็นสารอินทรีย์ที่สามารถหาได้ในธรรมชาติ นำมาเพาะเลี้ยงเพื่อที่จะใช้เป็นปุ๋ยน้ำในการฉีดหรือผสมในการรดน้ำพืชผักของเรา ต้นทุนการผลิตต่ำ และปลอดสาร จะไปช่วยย่อยสลายอาหารที่เป็นโปรตีนที่เป็นประโยชน์สำหรับพืช โดยจุลินทรีย์ตามธรรมชาติจะมี สีแดง สีเขียว และสีม่วงดำ ขั้นตอนและรายละเอียดจะเป็นเช่นไร เชิญชมได้เลยครับ

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

1.ขวดน้ำใส่น้ำเปล่า โดยน้ำเป็นน้ำอะไรก็ได้ เช่น น้ำประปา น้ำฝน น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติก็ได้ โดยน้ำจะต้องไม่มีคลอรีนหรือผ่านการฆ่าเชื้อมาก่อน

2.ไข่, ช้อน, ถ้วย

3.น้ำปลา

ขั้นตอนการเพาะหาเชื้อจุลินทรีย์

1.ตอกไข่ลงในถ้วย เหยาะน้ำปลาลงในถ้วยเล้ฏน้อย จากนั้นตีให้เข้ากัน ลักษณะเหมือนการทำไข่เจียว

2.ตักไข่ที่ตีแล้ว 1 ช้อนเติมลงในน้ำเปล่า อัตราส่วน 1 ช้อนต่อน้ำเปล่า 1 ขวด จากนั้นเขย่าขวดเล็กน้อย

3.นำไปตากแดด ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน รอจนกว่าจะขึ้นสี จากนั้นจึงนำไปใช้งาน

การนำไปใช้งาน

สำหรับท่านที่มีเชื้อจุลินทรีย์อยู่แล้ว หากท่านอยากได้สีไหน ก็ให้เติมเชื้อลงไปในขวดเล็กน้อยเพื่อทำการขยายเชื้อต่อไปเรื่อยๆ จะสามารถนำไปใช้งานได้เร็วกว่าการเพาะหาเชื้อ โดยใช้เวลาอยู่ที่ประมาณ 3 สัปดาห์ เมื่อครบเวลาแล้วก็สามารถนำไปใช้รดน้ำพืชผัก ใส่ในนาข้าว รดน้ำต้นไม้ โดยอัตราส่วนที่ใช้ในการผสมน้ำคือ 1:1000 เป็นอัตราส่วนที่ค่อนข้างจะพอดี หากใส่เยอะเกินไปจะทำให้ต้นไม้เค็มเกินไป จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อต้นไม้ได้ สำหรับท่านที่ทำนาข้าว ต้องหมักปริมาณเยอะหน่อย เพราะพื้นที่ค่อนข้างเยอะ การหมักโดยประมาณ จะอยู่ที่ 100-300 ลิตร ขึ้นอยู่กับพื้นที่นาของแต่ละบุคคล

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับวิธีการเพาะหาเชื้อจุลินทรีย์ วัตถุดิบนั้นหาง่าย และวิธีทำก็ง่ายมากๆเลยครับ ทุกท่านสามารถลองไปทำทดลองใช้กันได้นะครับ โดยจากการทดสอบแล้ว ถือว่าตอบโจทย์เป็นอย่างมากเลยครับ โดยท่านสามารถรับชมคลิปวิดีโอเพิ่มเติมตามที่แนบมาด้านล่างได้เลยนะครับ

ที่มา แนวทางเกษตร เกร็ดความรู้

Visited 3 times, 1 visit(s) today

เรื่องราวเพิ่มเติม

ปลูกผักพายน้อยจากเมล็ด สร้างงานทำเงินให้เกษตรกร – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

ทักทายสมาชิกผู้ …

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *