สวัสดีสามชิกผู้ทำเกษตรกรทุกท่าน ทั้งสมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่ด้วยค่ะ พบกับเราอีกเช่นเดิม เว็ปไซต์ศูนย์รวมบทความเกร็ดความรู้ต่างๆเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ วันนี้เรามีเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับเทคนิคการดูแลอินทผาลัมหลังปลูก และปฏิบัติอย่างไรให้ถูกวิธีสร้างรายได้ครึ่งแสนต่อปี จะมีเทคนิคในการดูแลอย่างไรนั้น เราไปดูรายละเอียดกันเลยค่ะ
วิธีการดูแลอินทผาลัมหลังการปลูก
การดูแลอินทผาลัมนั้นง่ายแต่ต้องปฏิบัติอย่างถูกวิธี ให้ได้ผลผลิตดีมีปริมาณและคุณภาพสูงสมกับการรอคอยนั้น การดูแลอินทผาลัมให้ถูกวิธีจะเน้นไปที่เรื่องการให้น้ำที่เป็นหัวใจสำคัญ
การดูแลอินทผาลัม มีวิธีปฏิบัติดังนี้
การให้น้ำ
1.หลังจากที่นำต้นกล้าปลูกลงดินแล้ว ควรรดน้ำอย่างน้อยประมาณ วันละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1เดือน
2.หลังจากที่ทำการตัดต้นโตแล้ว ควรรดน้ำต้นอินทผาลัม 1 ถึง 3 ต่อครัง ช่วงเวลาที่รดน้ำควรเป็นตอนเช้าหรือตอนเย็นโดยรดน้ำให้ชุ่มหรือประมาณ 15 ถึง 25 ลิตร ต่อต้นต่อครั้งแต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องขึ้นกับความชื้นในอากาศหากอากาศชื้นดินชุ่มชื้นการให้น้ำสามารถเว้นระยะห่างออกไปได้
3.ช่วงฤดูฝน ไม่จำเป็นต้องรดน้ำหรือหากมีฝนทิ้งช่วงและดินรอบโคนต้นแห้งให้รดน้ำให้ชุ่ม
4.สำหรับการปลูกอินทผาลัมในเชิงพาณิชย์ควรติดตั้งระบบการให้น้ำเพื่อให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทุกฤดูกาล
5.ช่วงฤดูร้อน พ่นละอองน้ำโดยรอบเพื่อรักษาความชุ่มชื้นโดยเฉพาะในระยะต้นกล้าควรพ่นละอองน้ำวันละ 1 ถึง 2 ครั้งในช่วง 3 ถึง 4 เดือนแรก ถ้าอุณหภูมิสูงเกิน 35 องศาเซลเซียส ควรมีการระบายความร้อนโดยการใช้สแลนกรองแสง
สำหรับการให้ปุ๋ย
1.จะให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยชีวภาพ ทุก 2 สัปดาห์ โดยจะให้ในปริมาณที่เหมาะสม
2.ระยะช่วงปีที่ 1 ถึง 2 หลังจากปลูกแล้ว 1 เดือน ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยการแตกยอด เช่น ปุ๋ยสูตร 27-5-5 ประมาณ 2 ครั้ง/เดือน เพื่อจะช่วยให้ต้นอินทผาลัมเจริญเติบโต ได้อย่างรวดเร็วหรือใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ5 กิโลกรัม โดยใส่รอบบริเวณโคนต้น แต่มีระยะห่างจากลำต้นประมาณ 30 เซนติเมตร
3.ระยะช่วงปีที่3 เป็นปีที่จะเริ่มออกดอกติดผล ควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ เช่น มูลค้างคาว มูลไก่ช่วงต้นฤดูฝน เมื่อถึงปลายฤดูฝนเดือนตุลาคมใส่ปุ๋ยอินทรีย์อีกครั้งแล้วหยุดให้น้ำอินทผาลัม เพราะจะเริ่มออกดอกตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม
4.ระยะช่วงปีที่4 ปฏิบัติเช่นเดียวกับระยะช่วงปีที่ 3 หากมีการติดผลดกมากจากการช่วยผสมเกสรควรมีการช่วยค้ำยันทะลายอินทผาลัม เพื่อไม่ให้ก้านหักและติดดิน
การกำจัดวั ช พื ช
สำหรับการกำจัดวัชพืช ควรกำจัดบริเวณหลุมที่ปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้แย่งสารอาหารต้นอินทผาลัมทั้งยังช่วยป้องกันการรบกวนของศัตรูพืช
การตัดแต่งใบ
1.ควรตัดใบที่แก่ของอินทผาลัมทิ้งออก โดยใช้กรรไกรในการตัดแต่งใบหรืออาจจะใช้เคียวในการตัดแต่งใบเพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของแมลง
2.ควรตัดหนามรอบโคนต้นและใบที่ยังไม่แก่ทิ้งเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน
การผสมเกสร
1.ต้นอินทผาลัมมีต้นตัวผู้และตัวเมียแยกจากกัน การอาศัยธรรมชาติจากลมและแมลงสำหรับการผสมเกสรเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้อินทผาลัมมีผลผลิตที่สูง เกษตรกรหรือผู้ปลูกควรช่วยผสมเกสรให้อินทผาลัมด้วย
2.ต้นอินทผาลัมจะออกดอกเป็นจั่น ส่วนดอกเกสรตัวผู้จะมีลักษณะสีขาว กลีบดอกมีแฉกคล้ายกับหางกระรอก ซึ่งช่วงเวลาที่ออกดอกจะออกก่อนเกสรตัวเมีย จึงจำเป็นที่จะต้องเก็บเกสรไว้รอสำหรับการผสมพันธุ์
3.ต้นอินทผาลัมตัวเมียจะออกดอกเป็นจั่นเหมือนกับตัวผู้ แต่ดอกที่ออกจะมีลักษณะเมล็ดกลม มีช่อสีเขียวอ่อน
วิธีการผสมเกสร
1.ถ้าช่วงที่จั่นตัวผู้ออกดอก เห็นกลีบดอกสีขาวขึ้นมาเป็นแฉกๆควรนำเอาถุงพลาสติกมาคลุมไว้และมัดปากถุงไว้
2.นำช่อดอกที่ตัดออกมาแล้ว ทำการเขย่าเพื่อให้ละอองเกสรตกออกมา
3.จากนั้นเก็บละอองเกสรใส่ไว้ในถุง ไล่อากาศออกแล้วมัดปากถุงให้สนิทและเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นช่องปกติ ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นปีเพื่อรอการผสมให้กับต้นตัวเมีย
4.สำหรับการผสมเกสร ควรทำในช่วงเช้า เพราะว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งจะเอาเกสรตัวผู้เก็บไว้ในถุงพลาสติกแล้วทำการเขย่า เพื่อให้ละอองเกสรฟุ้งกระจายในถุงหลังจากนั้นให้นำไปครอบดอกตัวเมียและจึงเขย่าผสมเกสรให้เข้ากัน
5.ให้ผสมเกสรซ้ำอีก ครั้งในวันต่อมา
6.ถ้าเกิดฝนตกหลังจากที่ผสมเสร็จแล้วประมาณ 4-6 ชั่วโมง ต้องทำการผสมดอกเกสรใหม่เพราะน้ำฝนจะทำให้ไม่ติดหรือผลที่ได้ไม่ดี
เทคนิคการตัดแต่งช่อผล
ควรปลิดผลอินทผาลัมตั้งแต่ยังมีขนาดเล็กออกในบางส่วน เพื่อที่จะให้ได้ผลผลิตที่มีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดี โดยให้ผลของอินทผาลัมยังเหลืออยู่ในแต่ละก้านประมาณ 20 ถึง 25 ผล และมีอยู่ 45 ถึง 50 ก้านใน 1 ช่อ
ข้อควรระวัง ในการดูแลอินทผาลัม
1.ไม่ควรจะเหยีบบริเวณของโคนต้นอินทผาลัมภายในรัศมี 1.5 เมตร เพราะอาจจะทำให้ดินนั้นมีความแน่น ซึ่งปุ๋ย น้ำ และอากาศจะไหลซึมผ่านลงไปได้ยาก จะส่งผลให้ต้นอินนทผาลัมเจริญเติบโตได้ช้า
2.ไม่ควรให้น้ำขังบริเวณของโคนต้นอินทผาลัม
3.ไม่ควรกลบดินจนมิดโคนต้นอินทผาลัม เพราะจะทำให้ต้นกล้าเกิดการติดเชื้อราและโรคต่างๆได้ง่าย
4.ช่วงระยะของต้นอินทผาลัมเริ่มผลิดอก หรือก่อนออกดอก 120 วัน ไม่ควรที่จะตัดแต่งกิ่งอินทผาลัม ห้ามใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน (N) เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ และไม่ควรที่เคลื่อนย้ายต้นอินทผาลัม เพราะจะทำให้ต้นนั้นฟื้นตัวช้าหรือเกิดการชะงักการเจริญเติบโตได้
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
1.ต้นอินทผาลัมจะใช้เวลาโดยประมาณ 3 ถึง 4 ปี เพื่อการผลิดอกออกผล ซึ่งอัตราการให้ผลผลิตนั้นประมาณ 150 ถึง 250 กิโลกรัม ต่อต้นต่อปี เมื่อช่วงที่อินทผาลัมเริ่มสุก ควรใช้ถุงตาข่ายทำการหุ้มโดยรอบ เพื่อช่วยป้องกันการรบกวนของสัตว์ เช่น หนู นก และกระรอกซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่พบบ่อย
2.อินทผาลัมจะมีลักษณะสีน้ำตาลอ่อน เมื่อผลเริ่มสุกจะนุ่มสามารถทำการเก็บเกี่ยวก่อนที่อินทผาลัมจะสุกได้
วิธีการเก็บรักษาผลอินทผาลัม หลังการเก็บเกี่ยว
1.อินทผาลัมสดนั้นจะสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้เป็นเวลา 2 ถึง 3 สัปดาห์ หรือแช่แข็งไวได้นานถึง 4 เดือน ถ้าจะให้คงความสด ไม่มีกลิ่นแปลกปลอมหรือไม่ให้มีเชื้อราปะปนควรเก็บในถุงซีลสูญญากาศ
2.อินทผาลัมที่นำไปตากแห้ง หรืออบแห้งสามารถที่จะเก็บไว้ได้นานกว่าผลสดและได้มีรสชาติที่หวานอร่อยกว่า ซึ่งจะนำผลอินทผาลัมที่ตัดไว้แล้ว นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาตากแดดให้แห้งสนิทจากนั้นก็นำไปวางไว้ในที่อากาศถ่ายเทเพื่อคลายความร้อน จากนั้นบรรจุใส่ในภาชนะจะเก็บรักษาไว้ได้นาน
คำแนะนำ
1.ควรปฏิบัติตามขั้นตอนการดูแลอินทผาลัม เพื่อที่จะลดความเสียหายที่น้อย เนื่องจากการปลูกอินทผาลัมนั้นมีการลงทุนที่ค่อนข้างสูง
2.สารที่ใช้ในกำจัดศัตรูพืช และสารที่ใช้กำจัดเชื้อราร่วมกันนั้น ควรที่จะหลีกเหลี่ยงช่วงเวลาที่อากาศร้อนที่สุด เพราะเมื่อหยดสารลงบนบริเวณใบต้นกล้าจะทำให้เกิดความเสียหายได้
3.ควรฉีดพ่นสารป้องกันการกำจัดเชื้อรา โรครากเน่า โคนเน่า และสลับกับโรคราทางใบประมาณ 2 สัปดาห์ การดูแลรักษาอินทผาลัมหลังจากที่ปลูกแล้ว ยังไม่จบขั้นตอนนะคะ สามารถติดตามต่อได้ในบทความโรคและแมลงศัตรูพืชศัตรูอินทผาลัม
แหล่งข้อมูล : www.datepalm.in.th, www.idatepalm.com
เขียนโดย แนวทางเกษตร เกร็ดความรู้