ทำไมถึงต้องใช้ กะปิ แทนสารเร่งรากได้ – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

สวัสดีสมาชิกแฟนเพจแนวทางเกษตร เกร็ดความรู้ทุกๆท่านค่ะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่โลกของเกษตร ศูนย์รวมบทความเกี่ยวกับเกษตร สำหรับวันนี้เรามีเกร็ดความรู้ดีๆเกี่ยวกับข้อสงสัยทำไมถึงต้องใช้กระปิแทนสารเร่งรากได้ การใช้กะปิช่วยเร่งการแตกรากในการตอนกิ่ง เนื่องจากในกะปิมีสารอินโดล ที่ได้จากการหมักกุ้งที่ใช้ทำกะปิ สารอินโดลนี้มีรูปร่างโมเลกุลคล้ายกับ สารออกซิน (อินโดลอะซิติกแอซิด) ของน้ำยาเร่งรากนั่นเอง ดังนั้น การใช้กะปิจะช่วยในเรื่องของการเร่งการเกิดรากได้ดี ซึ่งจะมีวิธีการทำอย่างไรนั้นเราไปชมกันค่ะ

การใช้กะปิช่วยเร่งการแตกรากในการตอนกิ่ง

ภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับการนำกะปิมาใช้ทำเป็นสารละลาย เพื่อใช้กระตุ้นในการเจริญเติบโตของพืช แต่เกษตรกรไม่ได้นำวิธีนี้ไปใช้กันแพร่หลาย เพราะเข้าใจว่าฮอร์โมนจะสามารถช่วยเร่งรากพืชที่ทำมาจากสารน่าจะช่วยในเรื่องการเร่งรากพืชได้ดีกว่าและยังขาดข้อมูลที่แน่นอน จากงานวิจัยที่ทำการทดลองออกมาหลายครั้ง พบว่าสารละลายน้ำกะปิสามารถที่จะใช้แทนฮอร์โมนเร่งรากพืชได้จริง

โดยในกะปิมีสารอินโดล ที่ได้จากการหมักกุ้งที่ใช้ทำกะปิ สารอินโดลนี้มีรูปร่างโมเลกุลคล้ายกับ สารออกซิน (อินโดลอะซิติกแอซิด) ของน้ำยาเร่งรากนั่นเอง ดังนั้นการใช้กะปิก็สามารถเร่งการเกิดรากได้ดี เนื่องจากในกะปิจะใช้กุ้งหรือเคยมาทำ

ซึ่งในตัวของกุ้งหรือเคยจะมีสารที่เรียกว่า Kinetin ในส่วนของเปลือกหรือผิวกุ้งที่เราเห็นเป็นสีแดงเมื่อโดนความร้อน สาร Kinetin เป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนที่เรียกว่า ไคโตซาน จะมีผลต่อการขยายของเซล์ ดังนั้น จึงทำให้ต้นพืชที่ได้รับสารนี้จากกระปิมีการแบ่งเซลล์ที่เยอะขึ้น และสามารถที่จะเกิดรากได้ในจำนวนที่เพิ่มขึ้น เมื่อนำไปใช้สำหรับการตอนกิ่ง

วิธีการใช้กะปิกับการกิ่งตอน 

1. เลือกกิ่งพันธุ์ที่มีลักษณะกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่มีความสมบูรณ์โดยปราศจากโรคและแมลง

2. จากนั้นทำการควั่นกิ่ง ลอกเอาเปลือกออกแล้วขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่นๆ ออก จากนั้นนำกะปิเท่าหัวนิ้วมือผสมกับน้ำ 1 แก้ว(150 CC) คนให้เข้ากัน แล้วนำไปทาส่วนที่เราต้องควั่นกิ่ง

3. เมื่อทำการควั่นกิ่งและทากระปิเสร็จแล้ว นำตุ้มตอน(ขุยมะพร้าวที่แช่น้ำ แล้วบีบหมาดๆอัดลงในถุงพลาสติกผูกปากถุงให้แน่น) มาผ่าตามความยาวแล้วนำไปหุ้มบนรอยแผลของกิ่งตอน จากนั้นมัดด้วยเชือกทั้งข้างบนและข้างล่างของรอยแผล

4. หลังจากนั้นเมื่อกิ่งตอนเริ่มมีรากงอกแทงออกมาผ่านวัสดุ และเริ่มแก่มีลักษณะเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ปลายรากมีสีขาวและมีจำนวนรากที่มากพอสามารถที่จะตัดกิ่งตอนได้แล้ว

5. นำกิ่งตอนที่ได้ไปชำในภาชนะ กระถางหรือถุงพลาสติกเพื่อรอการปลูกต่อไปค่ะ

แหล่งที่มา http://www.kasetporpeang.com

เขียนโดย แนวทางเกษตร เกร็ดความรู้

Visited 44 times, 1 visit(s) today

เรื่องราวเพิ่มเติม

ปลูกผักพายน้อยจากเมล็ด สร้างงานทำเงินให้เกษตรกร – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

ทักทายสมาชิกผู้ …

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *