สวัสดีสมาชิกแฟนเพจทุกท่าน วันนี้เรามีสาระดีๆมาบอกต่อ จะพาไปวิเคราะห์สาเหตุและวิธีการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงปูนาแล้วตาย รายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น ไปชมกันเลยครับ
แหล่งที่มาของปู
อันดับแรกของการจะเลี้ยงปูเราจะต้องทราบที่มาของปูก่อนว่ามาจากแหล่งใด เช่นถ้าหากมาจากแหล่งธรรมชาติ ก็จะมีการบาดเจ็บจากตั้งแต่มีคนไปจับใส่กระสอบหรือภาชนะอื่นๆ ก็จะเกิดการหนีบกันตั้งแต่ตอนนั้น พอนำกลับมาใส่โอ่งที่บ้านหรือใส่กะละมังก็จะเกิดการหนีบกันอีกในรอบสอง หลังจากนั้นระหว่างการขนส่งมายังผู้ซื้อก็จะเกิดการหนีบกันครั้งที่สาม เมื่อมาถึงบ่อเราปูก็จะเกิดการสลัดขาและตาย
วิธีแก้และการป้องกัน
ให้เลือกซื้อพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ว่าไม่ใช่ปูที่มาจากแหล่งธรรมชาติ โดยส่วนใหญ่มากกว่า 50 % จะประสบปัญหาการเลือกซื้อจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือซึ่งเป็นสาเหตุของการทำให้ปูตาย เพราะเห็นว่ามีราคาถูก โดยวิธีการแก้หลักๆเลยก็คือให้ซื้อจากฟาร์มที่เลี้ยงปูเอง เชื่อถือได้ ไปเลือกซื้อที่หน้าฟาร์มเอง อีกวิธีแก้อีกอย่างหนึ่งก็คือการจัดองค์ประกอบของบ่อให้ถูกต้อง การใส่กระเบื้อง การใส่พืชน้ำ ปริมาณน้ำ แหล่งที่มาของน้ำ โดยต้องจัดให้สมดุลกับปริมาณของปูให้บ่อ หากมีปูในบ่อเยอะก็ใส่เยอะตามจำนวน และให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด
สาเหตุการตายของปู
เมื่อเราเริ่มเลี้ยงไปแล้วปูรอดหรือเลี้ยงปูฟาร์ม ปัจจัยที่สองในการทำให้ปูตายคือการจัดองค์ประกอบของบ่อ ปูมีที่หลบไม่เพียงพอ บ่อแคบเกินไป ซึ่งธรรมชาติของปูนั้นเมื่อเจอหน้ากันก็จะหนีบกันตาย แย่งอาหารกัน แย่งการผสมพันธุ์ เมื่อเวลาปูลอกคราบก็จะไม่แข็งแรง ปูตัวอื่นมาเห็นก็จะหนีบทันทีเพราะคิดว่าเป็นอาหาร ก็จะกินกันเอง และอีกสาเหตุคือเมื่อปูผสมพันธุ์กัน ตัวผู้จะชอบตาย เพราะว่าขณะที่ผสมพันธุ์ตัวเมียจะอยู่ด้านบนโดยล็อคตัวผู้ไว้ หากผสมพันธุ์นานเกิน 2 ชั่วโมง ตัวผู้ที่อยู่ด้านล่างนั้นก็จะจมน้ำตาย
วิธีการแก้และป้องกัน
หากเลือกปูได้ ก็พยายามเลือกปูที่เป็นวัยรุ่นอยู่ หากเลือกตัวที่แก่จะมีความเสี่ยงในการผสมพันธุ์แล้วปูตายเร็ว ส่วนใหญ่นั้นจะเมื่อเห็นปูตัวใหญ่ก็จะอยากได้ตัวใหญ่ แต่ซึ่งนั่นเป็นปูที่แก่แล้ว โดยถ้าจะนำมาสืบพันธุ์ต่อให้เน้นไปที่ปูวัยรุ่น แต่หากต้องการทำมาโชว์ก็สามารถเลือกเป็นตัวใหญ่ได้ครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ หวังว่าบทความนี้จะเป็นแนวทางในการเลี้ยงปูให้กับหลายๆท่านได้ หากท่านอ่านเนื้อหาแล้วไม่เข้าใจ สามารถรับชมวิดีโอที่แนบมาตามลิงค์ด้านล่างนี้ได้นะครับ
ที่มา แนวทางเกษตร เกร็ดความรู้