ดอกขจรหรือเรียกอีกอย่างว่าดอกสลิด เป็นพืชพื้นบ้านของไทยเรา เป็นไม้เถา ใบเดียว ยอดและผลอ่อนของดอกขจรสามารถนำไปประกอบอาหารหรือทานเป็นผักคู่กับน้ำพริกได้ ซึ่งดอกขจรนั้นสามารถปลูกได้ในทุกดิน ปลูกง่ายและแข็งแรงมักจะออกดอกในช่วงปลายฝนต้นหนาว มีลักษณะเป็นดอกอ่อนสีเขียว ขอบใบเรียบ วันนี้ผมจะพาทุกท่านไปปลูกดอกขจรให้มีขายตลอดทั้งปี ไปชมกันครับ
พื้นที่ปลูก
ขจร เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน แต่จะให้เติบโตดีที่สุดก็จะเป็นดินร่วนปนทราย ขจรเป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี จึงไม่ต้องการน้ำมาก นิยมปลูกไว้บริเวณกลางแจ้ง แสงแดดส่องถึงตลอดวัน
การเลือกกิ่ง
ลักษณะของกิ่งที่จะนำมาปลูก ควรจะคัดเลือกเครือดอกที่มีความสมบูรณ์ ให้สังเกตจากใบที่ร่วงหมดแล้วและมีเครือที่โตสมบูรณ์
การเตรียมกิ่ง
- ตัดบริเวณส่วนของข้อ ยาว 2 เซนติเมตร ตัดทั้งหมด 2 ข้อ
- นำข้อที่ตัดมาปักลงดินเพาะชำ 1-2 เซนติเมตร
การเตรียมดิน
- ไถดิน
- ตากดินทิ้งไว้ 7 วัน
- ยกร่องเพื่อไม่ให้มีน้ำขัง
วิธีการปลูก
- ระยะปลูกที่พอดีคือ 2×2 เมตร
- ทำซุ้มเข้าหากัน
- ขุดหลุมลึก 30-50 เซนติเมตร รองพื้นด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
- นำต้นกล้าลงหลุมปลูก ใน 1 หลุม ปลูก 2-3 กิ่ง
- กลบดินให้แน่น
- รดน้ำให้ชุ่ม
เมื่อปลูกไปแล้วประมาณ 1 เดือน ขจรจะเริ่มออกดอกและแทงยอด จึงจะเริ่มทำค้าง ควรรดน้ำวันละ 1 ครั้งหรือตามสภาพความชื้นของดิน อย่าให้แฉะจนเกินไป เมื่อมีอายุ 5 เดือน จะเริ่มออกผลผลิตและสามารถเก็บเกี่ยวได้
การทำค้าง
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
- เสาไม้
- ตาข่าย
- ลวด
- เชือก
ขั้นตอนการทำค้าง
- ปักเสาไม้ห่างกัน 2 เมตร สูง 1.5 เมตร โดยปักตามแนวยาวของแปลง
- ใช้ไม้ไผ่ผูกบริเวณด้านบนเป็นขั้นบันได 5-6 ขั้น ให้เป็นทางสำหรับยอดขจร ขึ้นไป จะเป็น 1 ซุ้ม
- ขึงตาข่ายตามแนวเสาด้านบน
- ควรเว้นทางเดินประมาณ 80 ซม. แล้วทำซุ้มต่อไปตามความต้องการ
การเก็บเกี่ยว
เมื่อย้ายปลูกได้ 30 วัน ขจรจะเริ่มให้ผลผลิต เมื่อมีอายุ 8-10 เดือน โดยเฉพาะช่วงเดือน พ.ค.-ก.ค. ฟลังจากเก็บเกี่ยวจะต้องตัดแต่งกิ่งที่เคยออกดอกทิ้งไปเพื่อให้แตกกิ่งใหม่สำหรับผลิตรอบใหม่
สรรพคุณดอกขจร
- บำรุงโลหิต
- รักษาหวัด
- ใบอ่อนมีวิตามินสูง
- บำรุงธาตุในร่างกาย
- ช่วยในการขับถ่าย
- บำรุงหัวใจ
อ่านบทความจบแล้วเป็นเช่นไรบ้างครับ เป็นการลงทุนต่อไร่น้อย แต่สามารถออกดอกออกผลได้ทั้งปี ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว หากเกษตรกรท่านไหนคิดอยากปลูก ลองดูกันได้นะครับ ต้นทุนไม่เยอะ ผลลัพธ์ดี รู้อย่างนี้แล้วรออะไรกันครับ ไปปลูกกันเลย หวังว่าบทความนี้จะเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านนะครับ
เนื้อหาโดย แนวทางเกษตร เกร็ดความรู้