สวัสดีสมาชิกผู้ทำเกษตรทั้งหลายครับ ยินดีต้อนรับเข้าสู่เพจแนวทางเกษตร เกร็ดความรู้ วันนี้เรามี เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดการใช้ทรัพยากร และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถทำไว้ใช้ในครัวเรือนของท่านได้ เข้ามาถูกที่กันแล้วค่ะ เนื้อหาจะเป็นอย่างไร เราไปชมกันค่ะ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1.ลำต้น เล็บครุฑทอดมัน/ครุฑตรี มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-2 เมตร ต้นอ่อนมีสีเขียว และลำต้นแก่มีสีเทา ผิวลำต้นสากมือ ลำต้นแตกกิ่งตั้งตรงรวมกันเป็นทรงพุ่มและมีปุ่มนูนบริเวณกาบใบที่ร่วงไป
2.ใบเล็บครุฑทอดมัน/ครุฑตรี แตกออกจากลำต้น และกิ่ง โดยเรียงสลับกันเป็นชั้น ๆ ซึ่งใบเป็นใบประกอบมีก้านใบหลักยาว โคนก้านใบหลักมีตุ่มหนามเล็กๆ สีขาว
โดยถัดขึ้นมาเป็นจุดประสีขาวสลับกับสีเขียวเข้ม จากนั้นก้านใบหลักแตกก้านใบย่อยออก ก้านใบย่อยมีใบเรียงกันเป็นคู่ตรงข้ามกัน 5-9 ใบ โดยใบสุดท้ายเป็นใบเดี่ยว ใบย่อยแต่ละใบมีลักษณะเรียวยาว ขอบใบหยักลึกหลายหยัก คล้ายกรงเล็บ ส่วนปลายใบแหลม
3.ดอกเล็บครุฑทอดมัน/ครุฑตรี จะแทงงอกออกปลายยอดของลำต้น ช่อดอกมีขนาดใหญ่และแตกแขนงช่อย่อยจำนวนมาก แต่ละช่อมีดอกรวมกันเป็นกระจุก ประมาณ 20-40 ดอก
4.ผลและเมล็ดเล็บครุฑทอดมัน/ครุฑตรี มีลักษณะค่อนข้างกลม รวมกับหลายผลเป็นกระจุก
ประโยชน์เล็บครุฑ
1.เล็บครุฑมีลักษณะใบที่แปลก มีลายประขอบ ลักษระของใบหยักคล้ายกรงเล็บ ทรงพุ่มหนาและเตี้ย จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับต้น และประดับใบ โดยส่วนมาก จึงนิยมปลูกในกระถางประดับตามหน้าบ้านหรือในอาคาร
2.ยอดอ่อน และใบอ่อนมีกลิ่นหอม สามารถนำมาประกอบอาหารได้ เช่น ทอด เป็นผักหรือใช้รับประทานเป็นเครื่องเคียง
3.ใบเล็บครุฑมีน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอม สามารถนำสกัดสำหรับใช้เป็นส่วนผสมของน้ำหอม หรือนำมันสำหรับประโยชน์ในด้านความสวยความงาม
4.สามารถใช้ใบนำมาขยำ และใช้ทาเนื้อสัตว์ ก่อนนำไปย่าง ซึ่งช่วยให้เนื้อมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากขึ้น
5.ส่วนขอบของใบเล็บครุฑมีลักษณะหยักเป็นฟันเลื่อยจำนวนมาก บางชนิดหยักตื้น บางชนิดหยักลึก ทำให้แลดูคล้ายกรงเล็บครุฑ ซึ่งมีความเชื่อว่า หากปลูกแล้วจะช่วยคุ้มครอง ป้องกันภัยอันตรายต่างๆ สิ่งอัปมงคลไม่ให้มากล้ำกรายผู้ปลูกหรือสมาชิกในครอบครัว
สรรพคุณของเล็บครุฑ
ส่วนของใบ (มีกลิ่นหอม ให้รสชาติเผ็ดร้อน)
1.ใบสามารถนำมาต้มดื่มแก้อาการปวดหัว แก้ไมเกรน แก้ปวดหัวข้างเดียว
2.น้ำต้มที่ได้จากใบมีกลิ่นหอม ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
3.น้ำต้มจากใบสามารถนำมาดื่มได้ ช่วยแก้อาการปวดตามข้อต่าง ๆ
4.ใบสามารถนำมาตำบด สำหรับพอกรักษาแผล แก้แผลอักเสบ ผื่นคัน และโรคผิวหนังกลากเกลื้อนได้
7.ใบนำมาขยำแล้วอุดรูจมูก สำหรับหยุดเลือดกำเดา
ส่วนของลำต้น (มีรสฝาด)
1.สามารถนำมาต้มดื่ม เพื่อช่วยพิษร้อนได้
2.น้ำต้มที่ได้จากลำต้น ช่วยรักษาท้องร่วง แก้อาการปวดหัว และช่วยลดไข้
4.แก่นของลำต้น สามารถนำมาฝนใช้ทาสมานแผล
5.ราก (มีรสร้อน)
สรรพคุณ
1.ช่วยในการขับปัสสาวะ
2.ช่วยให้ผ่อนคลาย
3.ช่วยแก้ปวดตามข้อต่างๆ
การปลูกเล็บครุฑ
เล็บครุฑทุกชนิด สามารถปลูกขยายพันธ์ุด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนิยมใช้การปักชำและการตอนกิ่ง เพราะจะได้ต้นที่ไม่สูงมากและสามารถบังคับให้แตกกิ่งเป็นทรงพุ่มใหญ่เหมือนกับการปลูกด้วยเมล็ด
วิธีการปลูกด้วยเมล็ด
1.นำเมล็ดพันธุ์มาแช่ในน้ำที่ผสมกับน้ำตาลประมาณ 10 % เช่น น้ำ 1 ลิตร ใช้น้ำตาล 100 กรัม โดยแช่เมล็ดไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง
2.นำเมล็ดลงมาเพาะในถุงเพาะชำ ถุงละ 1-2 เมล็ด
3.หลังจากนั้น นำถุงเพาะชำเก็บไว้ในที่แสงแดดรำไร รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ทุกวัน ประมาณ 7-15 วัน เมล็ดก็จะเริ่มงอกออก
4. เมื่อต้นพันธุ์แตกใบออกแล้วประมาณ 3-5 ใบ จึงนำไปปลูกลงดินได้ หรือถ้าปลูกในกระถางอาจปล่อยให้เจริญเติบโตสักระยะ ก่อนที่จะเปลี่ยนไปใส่กระถางที่มีขนาดใหญ่กว่า
เรียบเรียงโดย แนวทางเกษตร เกร็ดความรู้