ปลูกไผ่หลอด ทำหลอดดูดน้ำ 1 ปีสร้างรายได้คืนทุน – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

สวัสดีชาวเน็ตทุกคนครับ วันนี้ผมมีไอเดียการปลูกไผ่หลอด ทำหลอดดูดน้ำขายสร้างรายได้ เป็นเรื่องราวของคุณธนวรรณ ปรโลกานนท์ เจ้าของสวนลุงโชค อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา รายละเอียดจะเป็นเช่นไรบ้าง ไปชมเลยครับ

ไผ่หลอด เป็นไผ่ขนาดเล็ก มีลักษณะลำต้นสีเขียวเป็นมัน ไม่มีหนาม ความสูง 3-4 เมตร มีปล้องยาวประมาณ 10-15 ซม. นิยมปลูกไว้เป็นไม้ประดับ สร้างความสวยงามให้กันสวนภายในรั้วบ้าน ที่ผ่านมามีการรณรงค์งดใช้หลอดพลาสติก จึงได้มีการคิดค้นทำหลอดไผ่ใช้แทนหลอดพลาสติกนั่นเอง

คุณธนวรรณกล่าวว่า คุณพ่อ (ลุงโชค) เจ้าของสวนลุงโชค ได้ปลูกไผ่มานานถึง 20 ปีแล้ว พยายามรณรงค์ให้ชาวบ้านหันมาสนใจการเกษตร ปลูกต้นไผ่เพื่อสร้างรายได้ ซึ่งปัจจุบันสวนลุงโชคยังเป็นศูนย์การเรียนรู้การทำวนเกษตรอีกด้วย

เดิมทีสวนลุงโชคปลูกไผ่ไว้สำหรับเป็นไม้ประดับและทำรั้ว แต่ปัจจุบันนั้นสวนลุงโชค มีไผ่มากกว่า 80 สายพันธุ์เลยทีเดียว เป็นไผ่เลี้ยงที่นำไปรมควันแล้วนำไปขาย เพื่อนำไปแปรรูปเป็นไม้เฟอร์นิเจอร์ หรืออื่นๆเป็นต้น

เมื่อกระแสหลอดไม้ไผ่กำลังมาแรง คุณธนวรรณและคุณพ่อก็ได้เริ่มทำหลอดไม้ไผ่ขาย โพสต์ขายทางช่องทางออนไลน์ ก็มีโรงแรมต่างๆหลายแห่งได้ติดต่อสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก ออเดอร์ล้นมือ ผลิตแทบไม่ทันกันเลยทีเดียว

ขั้นตอนกา่รทำ

1.นำไผ่ไปรมควัน
2.ตัดตามขนาดที่ต้องการ
3.ขัดให้เรียบและทำลายหรือตรายี่ห้อตามความต้องการของลูกค้า

ไผ่หลอดใช้ระยะเวลาปลูกประมาณ 1 ปี ราคาต้นพันธุ์ขายเป็นกอๆละ 80 บาท ขั้นตอนการทำง่ายมากๆ เพียงแค่นี้ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้แล้ว โดยราคาขายเริ่มต้นหลอดละ 10 บาท

คุณธนวรรณกล่าวว่าออเดอร์ของหลอดไม้ไผ่นั้นหลักหมื่นหลอดต่อเดือน กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่มาจากลูกค้าทั่วไป ร้านอาหาร โรงแรม เป็นต้น

ปัจจุบันนั้นเกษตรกรที่ปลูกไผ่หลอดนั้น ถือว่ายังมีไม่มาก เนื่องจากการปลูกไผ่หลอดเพื่อการค้าอย่า่งจริงจังใช้ต้นทุนสูง อีกทั้งยังเป็นงานฝีมือ  ใช้ทักษะในการทำค่อนข้างมาก อยากให้ลองหันมาปลูกไผ่หลอดกันดูครับ สร้างรายได้ได้แน่นอนครับ เพียง 1 ปีก็สามารถคืนทุนได้แล้ว อีกทั้งการปลูกไผ่นั้นการดูแลรักษานั้นก็ง่ายมาก แทบจะไม่ต้องดูแลอะไรมากเลย ปล่อยให้เติบโตเองตามธรรมชาติครับ

เขียนโดย แนวทางเกษตร เกร็ดความรู้

Visited 29 times, 1 visit(s) today

เรื่องราวเพิ่มเติม

ปลูกผักพายน้อยจากเมล็ด สร้างงานทำเงินให้เกษตรกร – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

ทักทายสมาชิกผู้ …

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *