วิธีทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และการใช้งาน – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

สวัสดีสมาชิกมิตรรักแฟนเพจทุกท่านค่ะ ยินดีต้อนรับสมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่เข้าสู่เพจแนวทางเกษตร เกร็ดความรู้ สำหรับบทความนี้เราจะพาเพื่อนๆไปดู การทำจุลินทรียสังเคราะห์แสง และวิธีการใช้งาน   จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง คือ จุลินทรีย์อีกสายพันธ์ุหนึ่งทำหน้าที่ปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับพืชที่ตกค้างอยู่ในดิน พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทำให้พืชมีการเจริญเติบโตได้ดี ถ้าเกิดเป็นนาข้าวจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องของข้าวไม่แตกกอ ข้าวเจริญเติบโตไม่ดีจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะช่วยได้เป็นอย่างมาก นอกจากจะเป็นประโยชน์ในเรื่องพืชแล้วยังสามารถนำไปใช้การบำบัดน้ำเสียได้เช่นกัน โดยปกติแล้วจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะมีอยู่ด้วยกันหลายสี แต่ที่เราพบเห็นบ่อยจะมีสีเขียวกับสีแดงซึ่งจะทำหน้าที่เหมือนกัน แตกต่างกันที่สายพันธ์ุ ส่วนสีอื่นๆ เช่น สีน้ำตาล สีเหลือง สีม่วง และสีม่วงอมดำก็มีสามารถใช้งานได้เช่นเดียวกัน จะมีรายละเอียดอย่างไรนั้น เราไปรับชมกันเลยค่ะ

วัสดุและอุปกรณ์

1.ภาชนะ สำหรับผสม

2.ขวดน้ำเปล่า และน้ำเปล่า 2.5 ลิตร สำหรับน้ำที่นำมาทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงควรเป็นน้ำบาดาลหรือน้ำฝน เพราะจะสามารถควบคุมสีได้ง่าย

3.ไข่ไก่ 1 ฟอง

4.หัวเชื้อจุลินทรีย์ 0.5 ลิตร

5.กรวย , แก้วน้ำ

6.ไม้คน สวนผสม

วิธีการทำ

1.ตอกไข่ 1 ฟอง ลงไปในภาชนะผสม

2.จากนั้นเติมน้ำเปล่าลงไป 2.5 ลิตร

3.เมื่อเติมน้ำลงไปเสร็จเรียบร้อย ก็นำมาไม้มาคนส่วนผสมให้ละลายเข้ากัน

4.หลังจากที่เราตีไข่กับน้ำเข้ากันได้ดีแล้ว ก็จะเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 0.5 ลิตร

5.จากนั้นคนส่วนผสมให้เข้ากันอีกรอบ

6.เมื่อคนจุลินทรีย์เข้ากันเสร็จเรียบร้อย ก็จะนำมากรอกกใส่ขวด ถ้าเป็นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะสามารถเติมได้เต็มขวด แต่ถ้าเป็นจุลินทรีย์ตัวอื่นควรเว้นช่องว่างไว้ เพื่อป้องกันขวดระเบิด

7.จากนั้นทำการปิดฝาขวดให้สนิท เพราะจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะหมักในลักษณะของระบบปิด

การเก็บรักษา

การเก็บรักษา หลังจากที่เราทำเสร็จแล้วสามารถเก็บไว้ในที่แดดร่มร่ำไรหรือเป็นที่โล่ง ข้อแนะนำ ไม่ควรตากแดดจัดเกินไป เพราะว่าความร้อนจัดจะไม่สามารถขยายตัวได้ดีและจะไม่มีสีแดงเข้ม หลังจากที่เราทำครบ 7 วัน จะมีสีที่แดงขึ้นสามารถที่จะนำไปใช้งานได้เลย

การนำไปใช้งาน

สำหรับการนำไปใช้งานจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1.การผสมน้ำเพื่อที่จะนำไปราดรดสำหรับพืชผักสวนครัว ต้นไม้ขนาดเล็ก 2.ต้นไม้ยืนต้น เช่น กล้วย ข่า ตะไคร้ สามารถที่จะนำไปราดรดบริเวณโคนต้นได้เลย การฉีดพ่นและราดรดจะใช้อัตราส่วน น้ำ 5 ลิตร ต่อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 100 ซีซี สามารถนำไปใช้งานได้ทุกสัปดาห์

 

การใช้ในนาข้าว สามารถปล่อยไปกับน้ำถ้าเกิดนามีระบบน้ำเปิด-ปิด ควบคุมระบบน้ำได้เราสามารถจะปล่อยไปกับน้ำได้เลย หรือถ้าเกิดมีน้ำขังในนาข้าวอยู่แล้ว สามารถที่จะเทลงไปในนาข้าวได้เลย เพราะว่าจุลินทรีย์เหล่านี้สามารถที่จะกระจายตัวได้ดีเมื่ออยู่ในน้ำและความชื้นจะขยายตัวได้เลย ควรนำไปใช้ก่อนที่ข้าวจะแตกกอตั้งแต่ 30-60 วัน อัตราส่วนที่ใช้ในนาข้าว จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 10 ลิตร ต่อ 1 ไร่ ซึ่งเราจะใส่เพียงครั้งเดียว

การใช้บำบัดน้ำเสีย สำหรับบ่อเลี้ยงปลา บ่อเลี้ยงกบ หรือเลี้ยงหอยเชอรี่ เราสามารถเทจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็น อัตราส่วนที่ใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 1 ลิตร ต่อน้ำที่มีอยู่ในบ่อประมาณ 200 ลิตร

สำหรับอายุจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง สามารถที่จะอยู่ได้นานแต่วิธีการเก็บรักษาและการนำไปใช้งานเมื่อเราทำเสร็จ เราควรที่จะนำไปใช้งานไม่เกิน 3 เดือน เพราะว่าประสิทธิภาพจุลินทรีย์สังเคราระห์แสงจะเข้มข้นมากในช่วงนี้ ถ้าเกิดเราเก็บไว้นานประสิทธิภาพจะลดลง กรณีที่จะนำกลับมาเป็นหัวเชื้อ เมื่อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงแดงแล้วสามรถที่จะนำกลับมาเป็นหัวเชื้อได้ ไม่ว่าจะเก็บไว้นานแค่ไหน

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง สำหรับเพื่อนเกษตรกรท่านใดที่ต้องการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เพื่อนำไปใช้งาน ซึ่งตัวจุลินทรียืสังเคราะห์แสงมีประโยชน์ค่อนข้างที่จะมาก สามารถทำให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ดีและก็สามารถช่วยบำบัดน้ำเสียทำให้น้ำใสขึ้น วิธีการทำก็สามารทำได้ง่ายๆ เป็นการนำไปใช้ในการทำเกษตรอินทรีย์ให้ได้ประสิทธิภาพที่ดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิต ค่าปุ๋ยต่างๆ เพราะว่าปุ๋ยมีราคาค่อนข้างที่จะสูงมาก เพื่อนๆลองนำวิธีนี้ไปทำดูนะคะ หากชื่นชอบบทความนี้ก็อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ

เขียนโดย แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

Visited 27 times, 1 visit(s) today

เรื่องราวเพิ่มเติม

ปลูกผักพายน้อยจากเมล็ด สร้างงานทำเงินให้เกษตรกร – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

ทักทายสมาชิกผู้ …

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *