ทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ใช้ในการเกษตร ด้วยวัสดุไม่กี่อย่าง – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกคนครับ พบกับเราอีกเช่นเคย วันนี้มีเทคนิคการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงมาฝากทุกคน วัสดุอุปกรณ์หาง่าย ทำเก็บไว้ใช้เองย่อมประหยัดกว่าการไปซื้อ ซึ่งการทำในครั้งนี้ช่วยประหยัดต้นทุนเรื่องปุ๋ยถึง 10 กระสอบกันเลยทีเดียว ขั้นตอนจะเป็นเช่นไร ไปชมกันเลยครับ

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

1.ไข่ไก่

2.ผงชูรส

3.น้ำปลา

4.กะปิ (ช่วยเร่งให้จุลินทรีย์ติดแดงได้ง่ายขึ้น)

ขั้นตอนการทำ

1.ตอกไข่ลงไปในถ้วย จากนั้นตีให้เข้ากัน

2.เติมผงชูรส ครึ่งช้อนโต๊ะ+น้ำปลา 4 ช้อนโต๊ะ+กะปิ ครึ่งช้อนโต๊ะ ลงไปในถ้วย คนให้เข้ากัน

3.ตักใส่ขวดน้ำ อัตราส่วน 3 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 1.5 ลิตร จากนั้นเขย่าให้เข้ากัน

4.นำไปตั้งตากแดดไว้ 5-7 วัน

5.หากมีลักษณะเป็นสีแดงแล้ว แปลว่าจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงได้เจริญเติบโตจนเต็มขวดแล้ว

แหล่งน้ำที่ใช้

-การใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น บึง สระ จะเห็นผล 100%

-การใช้น้ำประปา  ผลที่ได้จะออกเป็นสีเขียว ขาว หรือแดง แต่จะแดงไม่เต็มที่

-การใช้น้ำบาดาล จะออกสีขาวหรือแดง ขึ้นอยู่กับสารเจือปนที่มีในน้ำ

 

อัตราส่วนการนำไปใช้งาน

1.หากใช้พ่นที่ใบ อัตราส่วน = จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 100 ซีซี : น้ำ 20 ลิตร

2.หากฉีดพ่นลงดิน อัตราส่วน = จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 100 ซีซี : น้ำ 10 ลิตร

ฉีดพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จะทำให้ต้นไม้ดูดซึมปุ๋ยได้มากขึ้นลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลง ส่งผลให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

-มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืช ช่วยในการเจริญเติบโต

-ช่วยเร่งการย่อยสลายทำให้เกิดปุ๋ยในดิน ทำให้พืชได้รับปุ๋ยอย่างเต็มที่

-ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย

-รากแข็งแรงขึ้น สามารถดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น

-พืชมีความแข็งแรง ทนต่อโรคและแมลงต่างๆได้ดี

สำหรับขั้นตอนการทำก็ได้เสร็จแล้วนะครับ ทุกคนจะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงนั้นมีประโยชน์ต่อพืชมาก สำหรับท่านไหนที่ปลูกพืช ควรมีติดบ้านไว้เลยนะครับ ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ย แถมยังช่วยประหยัดต้นทุนการซื้อปุ๋ยได้อีกด้วย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างพืชในสวนให้แข็งแรงและเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ลองไปทำกันดูได้นะครับ

เขียนโดย แนวทางเกษตร เกร็ดความรู้

Visited 83 times, 1 visit(s) today

เรื่องราวเพิ่มเติม

ปลูกผักพายน้อยจากเมล็ด สร้างงานทำเงินให้เกษตรกร – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

ทักทายสมาชิกผู้ …

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *