หลักการเลี้ยงปูนาในบ่อปูน หรือบ่อซีเมนต์ – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

ยินดีต้อนรับสมาชิกทุกท่านเข้าสู่เพจแนวทางเกษตร เกร็ดความรู้ วันนี้เรามีเกร็ดความรู้จากริมภู ปูนาฟาร์มมาฝาก เป็น สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง วิธีการและรายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปชมพร้อมๆกันครับ

การจัดองค์ประกอบของบ่อพลาสติก

  • โดยธรรมชาติของปูนานั้น ถ้าอยู่ในบ่อพลาสติกเราจะไม่มีดิน จึงจะใช้ฟางข้าวแทนดิน ปูจะมาเจาะรูอยู่ตามจุดต่างๆของฟางที่เราได้วางไว้
  • นิสัยของปูนั้นจะมีความขี้อาย จึงจำเป็นต้องมีกระเบื้องและกระบอกไม้ไผ่ เอาไว้เป็นพื้นที่ส่วนตัวสำหรับปูพ่อแม่พันธุ์
  • สปริงเกอร์น้ำคอยสร้างบรรยากาศดีๆสำหรับปู
  • ผักตบชวาเอาไว้เป็นอาหารสำหรับปู

การวางฟางนั้นเราจะวางไว้ในพื้นที่ ที่เป็น่สวนที่แห้ง ไม่เปียก โดยในบ่อจะแบ่งส่วนเปียกกับส่วนแห้งไว้อย่างชัดเจน หากนำฟางไปไว้ในพื้นที่เปียก น้ำฟางจะมีลักษณะเป็นสีเหลือง เมื่อผ่านไปสักระยะจะมีสารแอมโมเนีย จะส่งผลให้ปูเกิดอาการแพ้น้ำ เกิดความเหม็นเน่า และทำให้ปูตายได้

การจัดองค์ประกอบที่หลบซ่อนของปู

ทิศทางการวางของกระเบื้อง เราจะวางไปในทิศทางแนวเดียวกันเพื่อที่จะสะดวกต่อการชำระล้างน้ำ การวางของไม้ไผ่ก็จะวางไว้ใต้กระเบื้องโดยให้ยาวออกมากว่ากระเบื้องเล็กน้อยเพื่อให้ปูสามารถไต่ขึ้นไปมาได้

ปริมาณของปูในแต่ละบ่อ

เนื่องจากปูเป็นสัตว์ที่มีความเป็นส่วนตัวสูงมาก เราจึงจะเลี้ยงอยู่ที่ 1 ตารางเมตร ต่อ 30 ตัว บ่อที่ฟาร์มของเรานั้นจะเลี้ยงบ่อละ 150 ตัว

การจัดองค์ประกอบของการวางพืชน้ำ

สำหรับพืชน้ำที่วางไว้ในบ่อ จะใส่ไม่เยอะ เอาไว้ให้ปูได้กัดกินใบมีอาหารไว้ขบเคี้ยวเล่นเป็นอาหารเสริม หากใส่เยอะจะเกิดผุ่นและฝอย รากโคน จะทำให้น้ำเกิดความสกปรก ทำให้ต้องเแลี่ยนน้ำและทำความสะอาดบ่อย สรุปแล้วการจัดองค์ประกอบของการทำบ่อคือจะเน้นไปในการทำให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด การมีที่หลบซ่อนให้ปูเยอะจะทำให้ปูไม่ตาย เป็นการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าของปูเองด้วย ลดความเครียดให้กับปูมากอีกด้วยครับ

เป็นเช่นไรบ้างครับ สำหรับเทคนิคและข้อแนะนำจากเจ้าของฟาร์มริมภู ปูนา หวังว่าบทความนี้เป็นแนวทางในการเริ่มหัดเลี้ยงสำหรับมือใหม่ หวังว่าจะเกิดประโยชน์ให้กับผู้อ่านนะครับ สามารถรับชมวิดีโอเพิ่มเติมตามลิงค์ที่แนบมา เอาไว้ประกอบการทำได้ด้วยครับ

ที่มา แนวทางเกษตร เกร็ดความรู้

Visited 22 times, 1 visit(s) today

เรื่องราวเพิ่มเติม

ปลูกผักพายน้อยจากเมล็ด สร้างงานทำเงินให้เกษตรกร – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

ทักทายสมาชิกผู้ …

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *