น้ำหมักจุลินทรีย์จาวปลวก ประโยชน์หลากหลาย – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

สวัสดีสมาชิกทุกๆท่านครับ ขอต้อนรับเข้าสู่ me-panya ทางเราได้รวบรวมบทความ วิธีการในด้านการเกษตรและคัดสรรมาเป็นที่เรียบร้อย วันนี้มีบทความดีๆมานำเสนอ ก็คือการทำน้ำหมักจุลินทรีย์จาวปลวก ที่มีประโยชน์หลากหลาย เราจะมาบอกขั้นตอนการทำแบบละเอียด จะเป็นเช่นไร ไปดูกันครับ

จุลินทรีย์จาวปลวกคืออะไร ?

จุลินทรีย์จาวปลวกคือจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่สามารถมาใช้ในการทำเกตรอินทรีย์ ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช ในจาวปลวกนั้นจะมีเ ชื้ อราไตรคอเดอร์มา ไมคอร์ไรซ่า และโปรโตซัว เชื้อราเหล่านี้จะเข้าไปทำลายเชื้อราที่เกิดขึ้นในโร คของพืช จำพวกรากเน่ า โคนเน่ า เป็นการอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายระหว่างเ ชื้ อรากับต้นไม้ ทำให้พืชเติบโตและแข็งแรง เกิดประโยชน์กับพืชมากมาย

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

1.จาวปลวก

2.ข้าวที่หุงแบบสุกๆดิบๆ จะทำให้อยู่ได้นาน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด หรือจะใช้ข้าวที่ทานเหลือก็ได้ครับ โดยข้าวต้องผสมน้ำให้เกิดการแตกตัวก่อน

ขั้นตอนการทำ

1.ขยำจาวปลวกให้ละเอียด

2.หลังจากขยำละเอียดแล้ว ให้นำไปผสมกับข้าว อัตราส่วน ข้าว 2 ส่วน ต่อจาวปลวก 1 ส่วน

3.คนให้ข้าวกับจาวปลวกมีความเข้ากัน จากนั้นนำไปใส่ภาชนะที่มีฝาปิด ทิ้งไว้อย่างน้อย 3 วัน

4.หลังจากครบ 3 วันให้เปิดดูจะเกิดขึ้นคล้ายดอกเห็ด จากนั้นให้เติมน้ำสะอาดลงไปให้พอท่วม ให้คนไปในทิศทางเดียวกัน โดยเปิดฝาคนทุกวัน ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะนำไปใช้งานได้

การนำไปใช้งาน

การใช้งานสามารถตักไปใช้งานได้หลังจากหมักครบ 2 สัปดาห์แล้ว โดยเราสามารถเติมข้าว เติมน้ำเพิ่มลงไปได้เลย โดยไม่ต้องไปขุดจอมปลวกใหม่ หรือเริ่มขั้นตอนในการทำใหม่ เป็นการเติมไปเรื่อยๆ แต่อย่าทิ้งไว้เกิน 6 เดือนโดยที่ไม่ได้ให้อาหาร หากเป็นเช่นนั้นจะต้องเริ่มทำใหม่ทั้งหมด

ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้วนะครับสำหรับวิธีการทำน้ำหมักจุลินทรีย์จาวปลวก จากการทดลองถือว่าเป็นน้ำหมักที่ให้ประโยชน์กับพืชแล้วตอบโจทย์ในหลายๆด้านในการปลูกพืชผักอีกด้วยครับ ทุกท่านสามารถนำวิธีการนี้ไปลองปรับใช้ในสวนของท่านได้นะครับ หากท่านอ่านแล้วไม่เข้าใจ สามารถรับชมวิดีโอเพิ่มเติมด้านล่างได้ครับ

ที่มา แนวทางเกษตร เกร็ดความรู้

ถ้าจะก็อปเนื้อหา ใส่ลิงค์ YT ด้วยนะครับ

Visited 35 times, 1 visit(s) today

เรื่องราวเพิ่มเติม

ปลูกผักพายน้อยจากเมล็ด สร้างงานทำเงินให้เกษตรกร – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

ทักทายสมาชิกผู้ …

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *