ปูนา เทคนิคและขั้นตอน ควรเลี้ยงอย่างไร – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

สวัสดีสมาชิกทุกท่าน วันนี้มีเกร็ดความรู้เล็กน้อยๆจากเจ้าของฟาร์มริมภู ปูนา เราจะพาไปดูวิธีการเลี้ยงปูนาในบ่ดิน เลี้ยงง่าย โตไว มีเทคนิคและขั้นตอนการเลี้ยงอย่างไรบ้าง? ไปชมกันเลยครับ

วิธีการจัดองค์ประกอบการเลี้ยงปูในบ่อดิน

โดยหลักๆบ่อดินของฟาร์มเรานั้น จะเน้นไปที่การใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด เพิ่มเติมส่วนของพื้นที่นาข้าวเป็นสวนหย่อมเล็กๆ รวมไปถึงผักบุ้งหว่านไว้ให้กินอีกด้วย ลักษณะแอ่งน้ำ ควรมีน้ำในปริมาณเล็กน้อย เนื่องจากเราจะมีการเติมน้ำในทุกๆเช้า และประเด็นสำคัญต้องมีพื้นที่เป็นแอ่งให้ปูนั่นได้เจาะรูเข้าไปอาศัยอยู่ เพื่อเป็นเป็นที่หลบซ่อนให้กับปู

หากการเลี้ยงในบ่อดิน หากไม่มีที่หลบซ่อน ปูนั้นจะมีการขุดรูอยู่ แต่หากปูในบ่อนั้นเยอะเกินไป ปูจะมีการเผชิญหน้ากันแล้วหนีบกันตาย จึงจำเป็นต้องมีการจัดวางองค์ประกอบให้พอดีกับจำนวนของปูในบ่อ อีกประเด็นสำคัญเลยก็คือ ปูนั้นชอบความมืด ที่ฟาร์มจะมีผ้าสแลน 80% บังแดดไว้ พอให้มีแสงแดดแบบรำไร

การเลี้ยงปูในบ่อดินมีข้อดีอย่างไร

การเลี้ยงปูในบ่อดินจะมีประสิทธิภาพสูงสุด มีอัตราการรอดสูง ตายน้อย ปูนั้นจะกินดิน กินทราย และกินพืชที่เราได้จัดไว้เป็นอาหาร การจัดการนั้นก็ไม่ยาก ถ้าเป็นบ่อปูนหรือบ่อกระชังจะต้องมีการล้างน้ำ ส่วนบ่อดินนั้นไม่ต้องล้าง แต่จะต้องมีการเติมน้ำใหม่ในทุกๆเช้า การเติมน้ำนั้นจะช่วยไปกระตุ้นให้ปูนั้นลอกคราบ ต้นทุนของการทำบ่อดินนั้นก็ต่ำกว่าบ่ออื่นๆอีกด้วย เพียงแค่เราจะต้องล้อมพื้นที่ที่เราจะทำการเลี้ยงเพื่อไม่ให้ปูไต่ ส่วนการจัดองค์ประกอบเราก็สามารถนำวัสดุจากธรรมชาติมาวางในบ่อของเรา เช่น กระบอกไม้ไผ่ กิ้งไม้ พืชข้าว ผักตบชวา เป็นต้น

ต้นทุนในการทำบ่อดิน

บ่อขนาด 3×5 เมตร  รวมแล้วโดยประมาณอยู่ที่ไม่เกิน 1,000 บาท วัสดุที่ซื้อมานั้นจะมีกระเบื้อง สปริงเกอร์และผ้าสแลน ส่วนวัสดุอื่นๆนั้นสามารถหาได้จากแหล่งธรรมชาติทั่วไป

อ่านบทความจบแล้วเป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับท่านไหนที่สนใจเลี้ยง ก็อยากแนะนำให้เลี้ยงในบ่อดินก่อน ต้นทุนต่ำ เลี้ยงง่าย ปูตายน้อย โอกาสรอดสูง หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านมากๆนะครับ สามารถรับชมวิดีโอเพิ่มเติมได้ตามลิงค์ที่แนบมาได้นะครับ

ที่มา แนวทางเกษตร เกร็ดความรู้

Visited 21 times, 1 visit(s) today

เรื่องราวเพิ่มเติม

ปลูกผักพายน้อยจากเมล็ด สร้างงานทำเงินให้เกษตรกร – แนวทางเกษตรเกร็ดความรู้

ทักทายสมาชิกผู้ …

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *