สวัสดีชาวแฟนเพจทุกท่าน ยินดีต้อนรับสมาชิกทุกท่านเข้าสู่เว็บไซต์ me-panya ศูนย์รวมไอเดียด้านการเกษตร จากผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรตัวจริง วันนี้มีบทความดีๆมาฝากแฟนเพจทุกท่าน เราจะพาไปชมสูตรทำดินปลูก คุณภาพสูง เป็นเทคนิคจากอาจารย์นิติ ดวงวันทอง รายละเอียดจะเป็นเช่นไร เชิญรับชมได้เลยครับ
การหมักดินปลูก
ลักษณะของดินปลูกนั้นจะต้องมีลักษณะที่ร่วนซุย มีธาตุอาหารที่เหมาะสมสำหรับพืชที่เราจะปลูก สาเหตุในการหมักดินปลูกก็คือ เราจะนำไปเพาะเมล็ดพันธุ์พืชที่มีราคาค่อนข้างสูง เพื่อลดปัญหาการเกิดโรคในพืช เช่น รากเน่า โคนเน่า เป็นต้น
ดินหมักต่างจากดินทั่วไปอย่างไร
ดินปลูกทั่วไปมักจะประสบปัญหารากน่า โคนเน่า ซึ่งเราจะทำการหมักดินปลูกเพื่อลดปัญหาเหล่านี้ด้วยสารซุปเปอร์ พด.3 ซึ่งเป็นไตรโคเดอร์มาที่มีคุณสมบัติควบคุมโรคพืช
การเตรียมอุปกรณ์
1.โบคาชิที่หมักไว้แล้ว
2.ดิน
3.ขุยมะพร้าวละเอียด (ที่คัดเส้นใยออกและผ่านการแช่น้ำมาแล้ว 1 คืน)
4.กะละมังและพลั่ว
5.สารซุปเปอร์ พด.3
6.น้ำ
ขั้นตอนการทำ
1.นำโบคาชิ ดิน และขุยมะพร้าว เทลงในกะละมัง อัตราส่วน 1:1:1
2.โรยสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ปริมาณ 1 ซอง (หากไม่มีสารซุปเปอร์ พด.3 สามารถใช้ไตรโคเดอร์มาแทนได้)
3.ผสมวัตถุดิบทุกอย่างให้เข้ากัน
ข้อแนะนำ
เมื่อผสมทุกอย่างเข้ากันแล้ว ค่อยๆเติมน้ำ จากนั้นให้สังเกตุความชื้นของดิน อย่าให้ดินแฉะมากเกินไป ข้อสังเกตุคือให้ลองกำดินใส่มือ จะมีลักษณะที่สามารถปั้นให้ติดกันได้และทำให้ดินแตกตัวกันได้ ถือเป็นความชื้นที่เหมาะสม จากนั้นให้ตักดินใส่กระสอบถุงปุ๋ย จะเลือกถุงปุ๋ยที่ไม่เคลือบพลาสติกเพื่อให้มีการระบายอากาศได้ ปิดปากถุงแล้วเก็บไว้ในที่ร่ม ระยะเวลาในการหมักอย่างน้อย 15 วันเพื่อให้เชื้อไตรโคเดอร์มาได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่
วิธีการทดสอบดิน
เมื่อหมักครบระยะเวลา 15 วันแล้ว วิธีการทดสอบดินว่าพร้อมใช้งานหรือยัง ให้ใช้มือสัมผัสดินว่ามีอุณหภูมิร้อนหรือไม่ หากอุณหภูมิปกติก็สามารถที่จะนำมาใช้งานได้แล้ว สภาพดินจะมีลักษณะร่วนซุย จะมีสีที่เปลี่ยนไปจากเดิมคือดินจะมีสีเข้มขึ้นหรือสีดำ
อ่านบทความกันจบแล้วเป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับการหมักดินปลูกครั้งนี้คุณสมบัติเทียบเท่ากับดินที่เราไปซื้อตามร้านค้าได้เลย เป็นวิธีที่แสนง่าย ทุกๆท่านสามารถทำเองได้ ประหยัดงบประมาณ แถมยังได้ดินที่มีคุณภาพดีอีกด้วย เกษตรกรท่านไหนสนใจก็ลองนำไปทำไว้ใช้กันได้นะครับ หากท่านอ่านบทความนี้แล้วยังไม่เข้าใจท่านสามารถรับชมวิดีโอเพิ่มเติมตามลิงค์ที่แนบมาด้านล่างนี้ได้นะครับ
ที่มา แนวทางเกษตร เกร็ดความรู้